"ควบคุมความดันโลหิตด้วยวิธีธรรมชาติ"
29 Jan, 2024 / By
bode
"ควบคุมความดันโลหิตด้วยวิธีธรรมชาติ "
โรคความดันโลหิตสูงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า นักฆ่าจากความเงียบ เพราะมันมักจะโจมตี โดยไม่แสดงอาการออกมาให้เห็นก่อนเลย เป็นโรคที่เกิดทั่วไปในสหรัฐอเมริกา จากการสำรวจสุขภาพแห่งชาติ (National Health Interview Survey) ประมาณการว่า ชาวอเมริกัน 28 ล้านคน มีความดันโลหิตสูง ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้ไม่รักษาแล้ว ก็จะนำไปสู่การเป็นโรคอัมพฤกษ์ หัวใจพิบัติ และไตวาย แพทย์มักจะให้ยาลดความดัน โลหิตเพื่อช่วยลดความดันโลหิตลง ซึ่งยาพวกนี้หลายอย่างล้วนทำให้เกิดอาการข้างเคียงทั้งสิ้น ยาบางอย่างที่มักจะให้แก่คนไข้ ตัวอย่าง เช่น ยาขับปัสสาวะ ซึ่งช่วยขับเกลือออกไปกับน้ำ ยาเบต้า บล็อกเกอร์ ทำให้อัตราการเต้นของหัวใจช้าลง และลดปริมาณ การสูบฉีดโลหิต ยาต้านแคลเซียม ทำให้หลอดเลือดแดงและ arterioles ขยายตัวและไปป้องกันการสะสมตัวของแคลเซียม และยายับยั้ง angiotensin-converting enzyme หรือ ACE ที่ทำให้หลอดเลือดแดงขยายตัวโดยไปยับยั้ง angiotensin II ที่เป็นสารที่ทำให้หลอดเลือดแดงหดตัวลง
เราจะถือว่าความดันโลหิตสูงได้เมื่อไร?
ความดันโลหิตนั้นแตกต่างกันออกไปแล้วแต่บุคคล และขึ้นอยู่กับว่ากำลังพักผ่อนหรืออกกำลังกายอยู่ การวัดมักวัดจากเส้นเลือดแดงใหญ่เส้นใดเส้นหนึ่งจากแขนทั้งสองข้างด้วยเครื่องวัดความดันโลหิต (sphygmomanometer) โดยเป็นเครื่องวัดที่ใช้ปลอกสวมรอบแขน และบีบรัดรอบแขนด้วยลมให้แน่นหรือเครื่องวัดความดันโลหิตนั่นเอง
ความดันโลหิตมีสองชนิดคือ systolic ซึ่งเป็นค่าความดันสูงสุดที่วัดได้ แสดงให้เห็นความดัน ที่ขึ้นสูงสุดในขณะที่หัวใจสูบฉีดโลหิต และความดัน diastolic เป็นความดันตัวล่าง วัดใขณะที่หัวใจกำลังคลายตัวมากที่สุด ระหว่างการเต้นของหัวใจแต่ละครั้ง
หากค่าความดันตัวล่าง หรือ diastolic วัดได้ 85 หรือมากกว่าถือว่าเป็นค่าที่สูง และหากวัด ได้สูงกว่า 95 ก็ควรไปพบแพทย์ได้ ค่าที่ถือว่าคุณมีความดันโลหิตสูงคือค่าที่วัดได้ 140/100 หรือสูงกว่านั้น
วิธีการรักษาความดันโลหิตสูงแบบธรรมชาติ
ต่อไปนี้เป็นอาหารเสริม สมุนไพร และการเปลี่ยนแปลงทางโภชนาการที่พิสูจน์แล้วว่าสามารถ รักษาอาการความดันโลหิตสูงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แคลเซียม: จากการศึกษาของ ลินดา ลิทเทิ่ล ที่ตีพิมพ์ในหนังสือ Medical Tribune ระบุว่า แร่ธาตุนี้ทำให้หลอดเลือดแดงเกิดการผ่อนคลาย ซึ่งอาจช่วยลดความดัน โลหิตลงได้ ในการศึกษาได้ทำการติดตามผลผู้ชายจำนวน 432 คน อายุระหว่าง 47 ถึง 64 ปี เป็นเวลานานถึง 18 ปี แล้วพบว่า คนที่รับประทานแคลเซียมในปริมาณมากที่สุด (วันละ 322 ถึง 1,118 มก. ต่อวัน) มีความเสี่ยงต่อการเกิดความดันโลหิตสูง น้อยกว่าผู้ที่รับประทานในปริมาณที่น้อยที่สุด (วันละ 8 ถึง 109 มก.) อยู่ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณที่ทางการสหรัฐฯ แนะนำสำหรับชาย ในวัยกลางคน คือ วันละ 800 ม.ก.(7 เมษายน 1994)
โคเอนไซม์ คิว 10: บทความจากหนังสือ The Nutrition Superbook: The Antioxidant (Keats, 1995) โดยด๊อกเตอร์ วิลเลียม เอช ลี R.Ph., Ph.D. ระบุว่าเมื่อผู้ป่วยด้วยความดันโลหิตสูงจำนวน 25 คน ได้รับอาหารเสริมโคคิว 10 ปริมาณวันละ 60 มก. เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ผู้ป่วยทั้งหมดมีความดันโลหิตลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
น้ำมันกระเทียม: รายงานจากด๊อกเตอร์ ไมเคิล เมอร์เรย์ N.D.และด๊อกเตอร์โจเซฟ พิซซอร์โน่ N.D.ในหนังสือ Encyclopedia of Natural Medi cine (Prima, 1991) ระบุจากการทดสอบในมนุษย์แสดงให้เห็นว่า กระเทียมสามารถลดความดันตัวบน (systolic) ลงได้ราว 20 ถึง 30 มิลลิเมตรปรอท (mm Hg) และลดความดันตัวล่าง (diastolic) 10 ถึง 20 มิลลิเมตรปรอท
สมุนไพรฮอว์ธอร์น (Hawthorn หรือ Crataegus monogyna): เมอร์เรย์ และพิซซอร์โน่ ระบุว่า “ผลฮอว์ธอร์น และสารสกัดจากดอกใช้ได้ผลดีในการลดความดันโลหิต และการจู่โจมจากการเต้นผิดจังหวะของหัวใจ (angina) แล้วยังลดคอเลสเตอรอลในซีรั่ม และป้องกันการสะสมตัวของคอเลสเตอรอลตามผนังหลอดเลือดแดง” และกล่าวต่อไปอีกว่า “สารสกัดฮอว์ธอร์น ใช้ลดความดันโลหิต และช่วยการทำงานของหัวใจกันอย่างกว้างขวางในยุโรป” ผลในทางเภสัชวิทยาของสารสกัดฮอว์ธอร์นนี้ (ซึ่งอาจประกอบไปด้วยสารฟลาโวนอยด์) คือ ไปทำให้หลอดเลือดขนาดใหญ่มีการขยายตัวมากขึ้น
มิสเซิลโท (Mistletoe หรือ Viscum album): สมุนไพรนี้เชื่อกันว่าสามารถคุมความดันโลหิตได้รักษาได้ทั้งโรคความดันโลหิตสูงและต่ำ ในยุโรปมักจะใช้มิสเซิ่ลโทร่วมกับฮอว์ธอร์นในการรักษาความดันโลหิตสูง อย่างไรก็ตามสมุนไพรมิสเซิ่ลโทนี้ก็อาจเป็นพิษและไม่ควรใช้ในปริมาณสูง (เช่น ใช้สมุนไพรน้ำหนักมากกว่า 4 กรัม) เป็นเวลานานๆ เว้นเสียแต่ว่าจะอยู่ภายใต้ การควบคุมดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านธรรมชาติบำบัดด้วย
อาหารมังสวิรัติ: “ โดยทั่วไปผู้ที่รับประทานอาหาร มังสวิรัติจะมีความดันโลหิตต่ำกว่าคนที่ทานเนื้อสัตว์อย่างน้อยส่วนหนึ่งก็มาจากที่ว่าโดยเฉลี่ยคนเหล่านี้มีหุ่นที่เพรียวบางกว่านั่นเอง” เป็นบทความของ เวอร์จิเนีย เมสซิน่า M.P.H.,R.D. และ ด๊อกเตอร์มาร์ค เมสซิน่า Ph.D. จากบทความ Medical and Health Annual (Ency-clopedia Britanica, 1995) นอกจากนี้ผู้ที่รับประทานอาหารมังสวิรัติยังอาจได้รับปอแตสเซียม ซึ่งมีความสัมพันธ์ในการลดความดันโลหิตอยู่ในปริมาณที่มากขึ้นด้วย เมื่อย้อนกลับไปในช่วงทศวรรษที่ 1920 นักวิจัยพบว่าการเพิ่มเนื้อ เข้าไปในอาหารของผู้ที่รับประทานมังสวิรัติจะไปเพิ่มความดันโลหิตของพวกเขาอย่างมีนัยสำคัญภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์
จำกัดการบริโภคโซเดียม: แม้จะยังโต้เถียงกันอยู่ว่าโซเดียมที่มากเกิน ไปทำให้ความดันโลหิตสูงหรือไม่ แต่เมื่อวิเคราะห์ถึงข้อดีและข้อเสียแล้ว ก็ควรจะทานให้น้อย ๆ ลงไปหน่อยก็จะดี โดยเฉพาะอาหารที่ผ่าน กระบวนการซึ่งมักจะมีโซเดียมอยู่ในปริมาณสูงอยู่แล้ว