"ตาบอดกลางคืน ต้อกระจก จอประสาทตาเสื่อม ภัยร้ายที่ไม่ควรมองข้าม"
30 Jan, 2024 / By
bode
"ตาบอดกลางคืน ต้อกระจก จอประสาทตาเสื่อม ภัยร้ายที่ไม่ควรมองข้าม"
ต้อกระจก ตาบอดกลางคืน และแม็คคูล่าเสื่อม โรคเหล่านี้ซึ่งครั้งหนึ่งเราคิดกันว่าเกิดจากอายุขัย ได้กลายเป็นโรคที่พบมากขึ้นในคนที่อายุน้อยลง เช่นเดียวกับที่พบในคนสูงอายุ โชคดีที่การวิจัยในหลายปี มานี้ชี้ให้เห็นถึงผลดีของสารอาหารและสารเคมีจากพืชที่สามารถป้องกันและรักษาอาการของดวงตาเหล่านี้ได้
ไม่นานมานี้ที่เราคิดกันว่าโรคตาเหล่านี้เป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่บัดนี้ได้มีการค้นพบถึงความสัมพันธ์ ระหว่างความเสียหายที่เกิดจากปฎิกิริยาออกซิเดชั่นกับโรคเหล่านี้แล้ว การรับประทานอาหารจำพวกวิตามินที่เป็นสารแอนติออกซิแดนท์ เกลือแร่ และสารเคมีจากพืช ประกอบการรับประทานอาหารเสริมดูเหมือนจะช่วยป้องกัน และรักษาโรคร้ายแรงของดวงตาเหล่านี้ได้ บทความที่จะกล่าวต่อไปนี้กล่าวถึงโรคตาโดยแบ่งเป็น 3 ชนิด คือ ตาบอดกลางคืน ต้อกระจก และแม็คคูล่าเสื่อม โรคแต่ละอย่างจะมีรายชื่อของอาหารเสริมที่ช่วยป้องกันและรักษาอาการไว้ด้วย
ตาบอดกลางคืน
ชื่อของโรคตาบอดกลางคืนก็อธิบายได้ในตัวเองอยู่แล้ว แม้จะมีการเข้าใจคลาดเคลื่อนไปบ้างก็ตาม ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จะไม่สามารถมองเห็นได้ดีในตอนกลางคืน หรือตอบสนองต่อการปรับตัวหลังการได้รับแสงจ้าได้ช้ากว่าปกติ ตาบอดกลางคืนไม่ได้หมายถึงตาบอดอย่างสิ้นเชิง เนื่องจากจะมองห็นในเวลากลางวันได้อย่างเป็นปกติ แต่เนื่องจากโรคนี้มักจะไม่ค่อยได้รับการวินิจฉัยมากนัก จึงไม่มีสถิติที่น่าเชื่อถือได้ว่ามีผู้ป่วยในสหรัฐฯ มีอยู่จำนวนเท่าใดกันแน่ แต่ก็มีคนเป็นโรคนี้มากขึ้นอย่างมากมาย ซึ่งทำให้มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้คนอย่างมาก (ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยด้วยตาบอดกลางคืนมักจะหลีกเลี่ยงที่จะออกจากบ้าน หรือขับยานพาหนะในยามค่ำคืน) ตาบอดกลางคืนยังเป็นสัญญาณของโรคตาที่ร้ายแรงมากกว่านี้อีกด้วย หากคุณคิดว่ามีอาการนี้ก็ควรไปตรวจกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเสียหลายครั้ง ตาบอดกลางคืนเป็นสัญญาณเบื้องต้นของการขาดวิตามิน เอ วิตามิน เอ นั้นเป็นตัวสร้างส่วนของรงควัตถุสีม่วง ชื่อว่า โรด็อบซิน (rodopsin) ซึ่งมีความไวต่อแสงในตา หากมีวิตามิน เอ ไม่เพียงพอแล้วก็จะมีการสร้างโรด็อบซินน้อยลง และทำให้ตาตอบสนองต่อที่ที่มีแสงสว่างน้อย หรือแสงจ้าได้ไม่ดี
วิตามิน เอ ช่วยลดอาการตาบอดกลางคืนได้เป็นอย่างมาก ในการศึกษาครั้งหนึ่งพบว่า วิตามิน เอ ช่วยลดการเกิดตาบอดกลางคืนในหญิงมีครรภ์จำนวนหลายพันคนที่ต้องทนทุกข์กับอาการนี้ลงได้
เบต้า แคโรทีน พบมากในผักใบสีเขียวจัด สีเหลือง และส้ม สามารถเปลี่ยนไปเป็นวิตามิน เอ ในร่างกาย แต่ร่างกายบางคนไม่สามารถเปลี่ยนเบต้า แคโรทีน ไปเป็นวิตามิน เอ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในกรณีนี้หากคุณขาดวิตามิน เอ แล้วการรับประทาน เบต้า แคโรทีน จากอาหาร หรือจากอาหารเสริม อาจไม่ได้ผลจึงควรรับประทานอาหารเสริมวิตามิน เอ เช่น เดียวกับที่ควรเน้นรับประทานอาหารที่มี เบต้า แคโรทีน เช่น ฟักทอง, อคอร์น สควอช (acron squash), มันเทศ, มันฝรั่ง, และแคร็อท
ปริมาณที่ใช้:รับประทานวิตามิน เอ วันละ 25,000 หน่วยสากล (IU) คุณสามารถรับประทานในปริมาณนี้ได้อย่างปลอดภัยเป็นเวลาหลายเดือน หากไม่มีแผนที่จะมีครรภ์ หากจะมีครรภ์ให้รับประทานได้ไม่เกินวันละ 10,000 หน่วยสากล เพราะปริมาณที่สูงเกินไปอาจทำให้บุตรที่คลอดมีความผิดปกติได้ ให้รับประทานเบต้า แคโรทีน วันละ 25,000 ถึง 50,000 หน่วยสากล (เบต้า แคโรทีน ไม่ทำให้เสี่ยงต่อการบุตรคลอดออกมาผิดปกติ สตรีมีครรภ์สามรถรับประทานได้ในระยะเวลายาวนาน) เบต้า แคโรทีน อาจมีปฎิกิริยากลับ ทำให้เกิดสีเหลืองส้มบนผิวหนัง เพราะเกิดจากการที่ร่างกายเก็บสะสมเบต้า แคโรทีน ไว้นั่นเอง
สังกะสี ช่วยให้ดวงตาใช้วิตามิน เอ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น จึงเป็นเกลือแร่ที่มีความสำคัญสำหรับผู้ที่ตาบอดกลางคืน ด้วยเหตุผลเดียวกันนี้ สังกะสียังมีความสำคัญต่อผู้ป่วยแม็คคูลล่าเสื่อมอีกด้วย
ปริมาณที่ใช้ : ในรูปอาหารเสริมวันละ 15 ถึง 30 มก. การใช้สังกะสีติดต่อกันนาน ๆ จะทำให้ร่างกายขาดแร่ธาตุทองแดงได้ ดังนั้นจึงควรรับประทานทองแดง 1 ถึง 3 มก. ในขณะที่รับประทานสังกะสีด้วย
บิลเบอรี่ (Vaccinium myrtillus) หรือบลูเบอรี่ยุโรป มีรงควัตถุชื่อว่า แอนโธไซยานิดินส์ ซึ่งช่วยให้โรด๊อบซิน ตอบสนองต่อการกระตุ้นของแสงได้อย่างมีประสิทธิภาพดีขึ้น ว่ากันว่าที่นักบินเครื่องบินขับไล่ชาวอังกฤษในสงครามโลกครั้งที่ 2 มองเห็นในเวลากลางคืนได้ดีกว่า ก็เพราะรับประทานแยมบิลเบอรี่ อย่างไรก็ตาม ในการศึกษาเมื่อเร็วๆ นี้ระบุว่า ไม่พบความแตกต่างอย่ามีนัยสำคัญ ในการมองเห็นตอนกลางคืนระหว่างผู้ที่รับประทานบิลเบอรี่กับผู้ที่รับประทานยาหลอก แต่อย่างไรก็ตามการศึกษานี้ก็ได้รับการโต้แย้งภายในเวลาเพียง 3 สัปดาห์ เมื่องานวิจัยชิ้นอื่นแสดงให้เห็นว่าสมุนไพรนี้ช่วยทำให้ การมองเห็นโดยรวม และสุขภาพของตาดีขึ้น
ปริมาณที่ใช้ : สารสกัดบิลเบอรี่ (ชนิดมาตรฐานที่มี แอนโธไซยาโนไซด์ 25 เปอร์เซ็นต์) วันละ 250 ถึง 500 มก.
ต้อกระจก
ต้อกระจกเป็นสาเหตุอันดับ 1 ที่ทำให้คนตาบอดทั่วโลกในสหรัฐอเมริกามีการผ่าตัดลอกต้อกระจกมากกว่า 1 ล้านครั้งต่อปี ต้อกระจกเป็นอาหารที่เกิดขึ้นบริเวณเลนส์ตา ทำให้เกิดเป็นฝ้าขาว แล้วสูญเสียการมองเห็นไปอย่างช้า ๆ และไม่มีความเจ็บปวด ดูเหมือนว่าต้อกระจกเกิดความเสียหายจากปฎิกิริยาออกซิเดชั่นที่เกิดขึ้นที่ดวงตา ซึ่งอาจเป็นเหตุผลที่อธิบายได้ว่า ทำไมการเกิดต้อกระจกจึงมีมากขึ้นในกลุ่มผู้สูบบุหรี่ เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่สูบ การได้รับสารแอนติออกซิแดนท์อย่างเพียงพอในดวงตาเป็นสิ่งจำเป็นในการป้องกันต้อกระจก ผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานมักจะเกิดต้อกระจกได้ง่าย ซึ่งดูเหมือนจะมีสาเหตุจากการมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานานมากกว่าสาเหตุอื่น ๆ
กลูตาไธโอน เป็นสารแอนติออกซิแดนท์หลักในเลนส์ตาที่ป้องกันความเสียหายจากออกซิเดชั่น กลูตาไธโอน ซึ่งประกอบด้วยอะมิโน แอซิด ไกลซีน ซิสเทอิน และกลูตามิค แอซิด เป็นสิ่งจำเป็นในการกำจัดพิษไฮโดรเจน เปอร์ออกไซด์ ในดวงตา เช่นเดียวกับที่ช่วยป้องกันการเสียหายของโปรตีนที่ดวงตา
ปริมาณที่ใช้: การรับประทาน เอ็นอะเซ็ททิลซิสเตอีน (NAC) ดูเหมือนจะเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการเพิ่มระดับกลูตาไธโอนในร่างกายสำหรับการป้องกัน รับประทานวันละ 500 ม.ก., สำหรับการรักษาต้อกระจก รับประทานครั้งละ 500 มก. วันละ 3 ครั้ง
วิตามิน เอ และ เบต้า แคโรทีน เป็นสารแอนติออกซิแดนท์ที่มีความสำคัญในการป้องกันต้อกระจก การศึกษาขนาดใหญ่ 2 ครั้ง ได้ศึกษาถึงการรับประทานวิตามิน เอ และเบต้า แคโรทีน จากอาหารและพบว่าผู้ที่รับประทานอาหารที่มีวิตามิน เอ และเบต้า แคโรทีน สูงมีการเกิดต้อกระจกน้อยลงอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเทียบกับผู้ที่รับประทานในปริมาณน้อยที่สุด ปริมาณที่ใช้: ใช้เช่นเดียวกับโรคตาบอดกลางคืน
วิตามิน อี เป็นสารแอนติออกซิแดนท์อีกชนิดหนึ่งที่จำเป็นสำหรับสุขภาพของตา และสำคัญในการป้องกันต้อกระจก ตัววิตามิน อี เองก็ทำหน้าที่เป็นสาร แอนติออกซิแดนท์อยู่แล้ว นอกเหนือไปจากทำหน้าที่ช่วยเพิ่มระดับ กลูตาไธโอน และนำกลูตาไธโอนกลับมาใช้อีก การศึกษาครั้งหนึ่งพบว่าการเกิดต้อกระจกลดลงมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ เมื่อให้ผู้ถูกทดสอบ รับประทานวิตามิน อี เมื่อรับประทานวิตามิน อี (ครั้งละ 50 หน่วยสากล วันละ 2 ครั้ง และบิลเบอรี่ (ครั้งละ 180 มก.วันละ 2 ครั้ง) ร่วมกันพบว่าสามารถหยุดยั้งการลุกลามของต้อกระจกในผู้เข้าร่วมการทดสอบจำนวน 96 เปอร์เซ็นต์ลงได้ เมื่อเทียบกับผู้ที่รับประทานยาหลอกมีข้อเสนอแนะว่าแอนโธไซยานิดินส์ และสารฟลาโวนอยด์อื่นๆ ในบิลเบอรี่ และพืชที่มีรงควัตถุอื่นๆ อาจมีประโยชน์ในการป้องกันต้อกระจกที่เนื่องมาจาก โรคเบาหวานได้
ปริมาณที่ใช้: วันละ 400 ถึง 800 หน่วยสากล
วิตามิน ซี เป็นสารแอนติออกซิแดนท์อีกชนิดหนึ่งที่ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดต้อกระจก วิตามิน ซีมีความเข้มข้นสูงในดวงตา ดังนั้น จึงมีความสำคัญในการป้องกันต้อกระจกโดยเฉพาะในผู้ป่วยเบาหวาน ปริมาณการใช้: วันละ 1 ถึง 2 กรัม ขึ้นอยู่กับสภาพความเสี่ยงต่อการเกิดต้อกระจก
โรคจอประสาทตาเสื่อม (Age-related macular degeneration (AMD)
โรคจอประสาทตาเสื่อม (Age-related macular degeneration (AMD) เป็นโรคที่เกิดขึ้นกับเรติน่า ซึ่งเป็นบริเวณที่อยู่ด้านหลังของลูกตาเป็นบริเวณที่แสงตกกระทบ แมคคูล่าเป็นศูนย์กลางของเรติน่า และมีหน้าที่ในการทำให้การรับภาพแม่นยำ และมีรายละเอียด แมคคูล่าเสื่อมมีความคล้ายกับต้อกระจก คือ ค่อยๆ สูญเสียการมองเห็นไปอย่างช้าๆ โดยไม่มีความเจ็บปวด สัญญาณของการเกิดแมคคูล่าเสื่อมที่ต้องมองด้วยกล้องขยายจึงจะทราบได้คือ มีการสะสมของสารสีเหลืองที่ เซลล์แมคคูล่า เรียกว่า ดรูเซ่น (drusen) ขึ้น การศึกษาโรคหัวใจที่มีชื่อเสียงคือ การศึกษาฟรามินแฮม (Framingham Heart Study) ซึ่งได้ทำการวิเคราะห์พฤติกรรมเกี่ยวกับสุขภาพ และโรคกับกลุ่มผู้ชายเป็นเวลาติดต่อกันหลายปีพบว่า ในผู้ที่มีอายุระหว่าง 52 ถึง 64 ปี เกิดแมคคูล่าเสื่อม 2 เปอร์เซ็นต์ อายุ 65 ถึง 74 เกิดขึ้น 11 เปอร์เซ็นต์ และอายุ 75 หรือสูงกว่าเกิดขึ้น 28 เปอร์เซ็นต์
สารแอนติออกซิแดนท์ สามารถป้องกัน และรักษาแมคคูล่าเสื่อมได้ เพราะคาดกันว่าโรคนี้มีความสัมพันธ์กับความเสียหาย เนื่องจากการออกซิเดชั่นที่เรติน่า ดังนั้น ผู้ที่สูบบุหรี่จึงมีความเสี่ยงสูงขึ้น พบว่าในเรติน่าที่แข็งแรงจะมีวิตามิน ซี และ อี อยู่ในระดับความเข้มข้นสูง และช่วยป้องกันตาจากแสงแดด และความเสียหาย จากการออกซิเดชั่น เบต้า แคโรทีน และโมเลกุลแคโรทีนอยด์อื่น ๆ โดยเฉพาะ ลูทีน และซีแซนทิน จะพบอยู่มากในแม็คคูล่า และเรติน่า ในการศึกษาครั้งหนึ่งพบว่า ผู้ที่ได้สารแคโรทีนอยด์ และวิตามิน อี จากอาหารมากจะมีความเสี่ยงต่อการสะสมของดรูเซ่น และเกิดแมคคูล่าเสื่อมน้อยกว่ามาก ในการศึกษาอีกครั้งหนึ่งพบว่าผู้ที่รับประทานอาหารที่มีแคโรทีนอยด์จากผักใบ เขียวจัด อย่างเช่น ผักพวยเล้ง และผักกาดใบ ในปริมาณมาก ๆ จะมีความเสี่ยงต่อแมคคูล่าเสื่อมน้อยลงอย่างเห็นได้ เพื่อช่วยป้องกันแม็คคูล่าเสื่อมให้รับประทานอาหารที่มี วิตามิน ซี อี และแคโรทีนอยด์มาก ๆ สำหรับการรักษาจำเป็นต้องได้รับสารอาหารเหล่านี้เป็นอาหารเสริมด้วย
ปริมาณที่ใช้ : วิตามิน ซี สามารถรับประทานได้ถึงวันละ 2 ถึง 3 กรัม ร่วมกับการรับประทานวิตามิน อี เสริมวันละ 400 ถึง 800 หน่วยสากล และปริมาณของลูทีนที่ปลอดภัย คือวันละ 30 มก.
กิงโก้ (Ginkgo biloba) เป็นที่ทราบกันดีว่าเป็นสมุนไพรที่ช่วยให้ความจำดีขึ้น โดยไปทำให้การไหลเวียนของโลหิตสู่สมองดีขึ้น ในการศึกษาเล็ก ๆ ได้แสดงให้เห็นว่าช่วยทำให้การมองเห็นในผู้ป่วยด้วยแม็คคูล่าเสื่อมดีขึ้น
ปริมาณที่ใช้: รับประทานสารสกัดกิงโก้มาตรฐาน วันละ 40 มก.