"สารอาหารสำหรับโรคเบาหวาน"
28 Dec, 2021 / By
admin
"สารอาหารสำหรับโรคเบาหวาน"
โรคเบาหวานเป็นโรคเกี่ยวกับความผิดปกติของเมตาโบลิซึ่ม โดยทำให้ความสามารถของร่างกายในการใช้คาร์โบไฮเดรตลดลง ปกติคาร์โบไฮเดรตจะถูกย่อยสลายในร่างกายให้กลายเป็นกลูโคส ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักของร่างกาย โดยมีอินซูลิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ผลิตจากตับอ่อนเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับเปลี่ยนกลูโคสให้เป็นพลังงาน ในผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานจะมีการผลิตอินซูลินไม่เพียงพอ จึงไม่สามารถเปลี่ยนกลูโคสให้เป็นพลังงานได้ แต่กลับไปสะสมมากขึ้นในเลือด ทำให้เกิดอาการ ขึ้นตั้งแต่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อง่ายขึ้นไปจนถึงความผิดปกติทางความคิดและอารมณ์ และโคม่า
โรคเบาหวานนี้แบ่งได้เป็นสองประเภท ประเภทที่ 1 (ต้องอาศัยอินซูลินคือ ขาดอินซูลินไม่ได้หรือ Insulin-dependent diabetes หรือIDD) เป็นชนิดที่เกิดขึ้นตั้งแต่ เป็นเด็กจนถึงวัย 35 และประเภทที่ 2 (ไม่ได้อาศัยอินซูลิน หรือ noninsulin dependent หรือ NDD) เป็นชนิดที่เกิดในผู้ใหญ่จนถึงวัยสูงอายุ
อาการของโรคเบาหวาน คือ กระหายน้ำอย่างหนัก ปัสสาวะบ่อย หิวเก่ง เหนื่ออ่อน และน้ำหนักตัวลดลง อาการอื่น ๆ ซึ่งอาจดูแล้วยาก ที่จะบอกว่าเป็นเบาหวาน ได้แก่ ตะคริว มองเห็นไม่ชัด คันเนื้อตัว และแผลหายยาก
การเกิดเบาหวานมีแนวโน้มที่จะเกิดจากพันธุกรรม นอกจากนี้ก็ยังอาจเกิดขึ้นได้หากมีการตั้งครรภ์ ผ่าตัด ความเครียดทั้งทางร่างกาย จิตใจ และอ้วน
การควบคุมน้ำหนักด้วยโภชนาการที่ถูกต้องเป็นปัจจัยสำคัญในการป้องกันโรคเบาหวานที่ไม่ได้อาศัยอินซูลิน (หรือเบาหวานผู้ใหญ่นั่นเอง)
การรักษาทางการแพทย์จะรักษาไปพร้อมๆ กับการให้โภชนาการจำเพาะ หากโรคไม่รุนแรง ก็สามารถ ควบคุมได้ด้วยโภชนาการเพียงอย่างเดียว หากรุนแรงยิ่งขึ้น ก็จะมีการควบคุมโภชนาการร่วมกับการใช้ยารับประทานหรือฉีดเพื่อเพิ่มการผลิตอินซูลินของตับอ่อน ตอนนี้นักวิจัยกำลังสนใจ เกี่ยวกับเรื่องของตัวรับอินซูลินในร่างกาย การปลูกถ่ายเซลล์ การควบคุมเพื่อช่วยในการรักษาโรค อีกทั้งในอนาคตจะมีงานวิจัยและป้องกันโรคทางด้านพันธุกรรมที่เกิดขึ้น
สารอาหารบางชนิด เช่น วิตามิน บี 1 บี 2 บี 3 บี 6 บี 12 แพนโทธีนิคแอซิด วิตามิน เอ ซี โปรตีนและ โปแตสเซียม พร้อมกับการรับประทานอาหารมื้อเล็ก ๆ ที่มีคาร์โบไฮเดรตเล็กน้อยบ่อย ๆ สามารถกระตุ้นการผลิตอินซูลินขึ้นมาได้ เวลาที่ใช้ในการผลิตอินซูลินในแต่ละ คนจะแตกต่างกันออกไป วิธีนี้จะให้เช่นเดียวกับการฉีดอินซูลิน และการฉีดอินซูลินอาจทำให้เกิดอินซูลินช็อคขึ้นได้(คือน้ำตาลในเลือดตกลงอย่างรวดเร็วเกินไป) จึงต้องมีการเฝ้าดูอาการ และปรับเปลี่ยนปริมาณให้เหมาะสมหากจำเป็น แอล-คาร์นิทีน อาจช่วยป้องกันโรคเบาหวาน การให้ แอล-ซิสเตอีน และน้ำมันปลา อาจไปขัดขวางอินซูลิน จึงไม่ควรรับประทานโดย ไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์
โครเมียม ช่วยทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดของคนทุกคนเป็นปกติ แต่ให้ผลได้ชัดในผู้สูงอายุ และยังช่วยลดน้ำหนักตัว ในผู้ป่วยเบาหวานด้วย ในการศึกษาในหนูทดลองพบว่า วานาเดียม ช่วยทำให้อาการของโรคเบาหวานดีขึ้น ควรให้ แมกนีเซียม ทดแทนในผู้ป่วยเบาหวานด้วย สังกะสี มีส่วนในการทำงานของอินซูลินในหลายขั้นตอน แล้วยังช่วยรักษาและกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ต่อสู้กับการติดเชื้อ ซึ่งแร่ธาตุนี้น่าจะช่วยลดอาการข้างเคียงหลายอย่างลงได้ และเนื่องจากการดูดซึมแร่ธาตุนี้ลดลงทั้งเนื่องจากอายุของผู้ป่วยและตัวโรคเอง จึงควรเสริมแร่ธาตุนี้เข้าไปด้วย
การขาดไมโออินนอสซิตอล (myoinositol) มีความสัมพันธ์กับโรคปลายประสาทอักเสบเนื่องจากเบาหวาน (รู้สึกเจ็บ ชาๆ ที่เท้าและขา) ซึ่งเป็นอาการข้างเคียงที่ร้ายแรงอย่างหนึ่งของเบาหวาน อีกทั้งอาการ เรติน่าอักเสบ เลือดออกในตา ก็เป็นอารการแทรกซ้อนอีกอย่างของโรคนี้ ซึ่งดูเหมือนว่า ความเครียดจะช่วยกระตุ้นให้เกิด และอาจป้องกันได้ด้วยการให้ โปรตีนกับ วิตามิน บีรวม โดยเพิ่ม วิตามิน บี 12 ให้มากขึ้นไปอีก และยังมี วิตามิน ซี และ แพนโทธีนิค แอซิด อีกด้วย
โภชนาการเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ต้องให้ได้สมดุลที่ดี และมีคาร์โบไฮเดรตที่มีไฟเบอร์สูง วิตามิน เกลือแร่ และไขมันต่ำ คล้าย ๆ กับโภชนาการที่ป้อง กันโรคหัวใจ ผู้ป่วยเบาหวานจะมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจมากกว่าคนปกติ 2 ถึง 3 เท่า ผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 2 สามารถหายขาดได้หากรับประทานอาหารอย่างถูกต้อง และสำหรับผู้ป่วยประเภทนี้แล้ว การลดน้ำหนักตัวจะช่วยได้ด้วยเช่นกัน
อาหารที่ควรและไม่ควรรับประทาน
สำหรับผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 2 นั้น 50-60% ของอาหารควรเป็น คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน (complex carbohydrates) เช่น ธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสี พาสต้า และถั่วต่าง ๆ เพราะอาหารพวกนี้จะปล่อยกลูโคสออกมาอย่างช้า ๆ ไม่เร็วเกินไป ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่เป็นคาร์โบไฮเดรตเป็นส่วนประกอบหลัก เช่น เค้ก คุ้กกี้ และขนมหวานต่าง ๆ สำหรับบางคนควรหลีกเลี่ยงผลไม้ และผักบางอย่าง เช่น แคร็อท และมันฝรั่ง เพราะมีน้ำตาลอยู่สูง
อาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวานนั้นจะเน้น ปลาที่มีไขมัน (ซึ่งอาจช่วยลดความเป็นไปได้ในการเกิดเบาหวานประเภทที่ 2 ลงได้ถึงครึ่งหนึ่ง) สัตว์ปีก และใช้อาหารจากถั่วเหลืองทดแทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์ ควรใช้ผลิตภัณฑ์อาหารนมชนิดไม่มีไขมันด้วย อาหารประเภทไฟเบอร์ควรเป็นไฟเบอร์ชนิดที่ละลายในน้ำ เช่น ข้าวโอ๊ต และถั่วต่างๆ สัก 30 ถึง 40% ของอาหารทั้งหมดที่ทานในแต่ละวัน ควรรับประทานอาหารสดมากๆ ผักต่างๆ อย่างเช่น กระเทียม หอมใหญ่ ผักกาดหอม กะหล่ำ ผักที่เป็นราก อะโวคาโด้ บร็อคโคลี่ และบรัสเซลสเปราท์ ก็เป็นสิ่งที่ดี ควรรับประทานอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ ไขมันอิ่มตัวจากสัตว์ควรรับประทานให้น้อยที่สุด (น้อยกว่า 10 % ของอาหารที่ทานในแต่ละวัน) เพราะพวกนี้จะไปลดการทำงานของอินซูลินลง ไขมันทั้งหมดควรรับประทานไม่เกิน 30% ของแคลอรี่ในแต่ละวัน สำหรับเด็กทารกให้ใช้นมที่ผลิตมาสำหรับทารกโดยเฉพาะ อย่าใช้นมวัว เพราะอาจทำให้เกิดเบาหวานประเภทที่ 1 ในภายหลังได้ ควรหลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์ และคาเฟอีนด้วย
การออกกำลังกาย และสมุนไพร
การออกกำลังกาย เป็นปัจจัยสำคัญในการรักษาโรคเบาหวานเช่นเดียวกับโภชนการ เพราะจะช่วยลดความต้องการอินซูลิน ลดระดับคอเลสเตอรอล และป้องกันไม่ให้น้ำหนักตัวมากเกินไป สมุนไพรและสารธรรมชาติอื่นๆ ที่ช่วยได้ ได้แก่ โสมและเมล็ดฟีนูกรีก (fenugreek seed – ซึ่งช่วยลดน้ำตาลในเลือด), damiana, huckleberry, lilyturf, เมล็ดบัว, devil’s claw, buchuleaves, triphala, golden root, grassy privet, อบเชย (ช่วยสมดุลของน้ำตาลในอาหารหวาน), และมันเทศจีน ชาวอิรักใช้ขนมปังข้าวบาร์เลย์ในการรักษาโรคเบาหวาน บางวัฒนธรรมก็ใช้ Juniper berries ผักชี และอัลฟัลฟ่า สมุนไพร เครื่องเทศและอาหารเหล่านี้มีสารประกอบที่ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด แล้วยังมีการรักษาด้วยกลิ่น (aromatherapy) เพื่อช่วยการหมุนเวียน โดยใช้พริกไทยดำ, ผักชี, ไซเพรส, ขิง, juniper, ลาเวนเดอร์, เลม่อน, sweet marjoram, ส้ม, rose otto, โรสแมรี่ และ vetiver