"โรคถุงลมโป่งพอง และหลอดลมอักเสบเรื้อรัง"
26 Jan, 2024 / By
bode
"โรคถุงลมโป่งพอง และหลอดลมอักเสบเรื้อรัง "
(โรคทางเดินหายใจอุดตันเรื้อรัง)
ความเห็นของด๊อกเตอร์แกบี้
ผู้ป่วยด้วยโรคถุงลมโป่งพอง (emphysema) มักมีน้ำหนักตัวน้อยและเจ็บป่วย เนื่องจากการขาดสารอาหารทั่วไปแม้เขาจะสามารถทานอาหารในปริมาณที่เพียงพอสำหรับคนปกติก็ตาม การขาด สารอาหารทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ และอาจทำให้ปอดทำงานผิดปกติได้ ผู้ป่วยด้วยโรคปอดอุดตันเรื้อรัง หรือ “โคล์ด” (COLD) จึงควรจะแน่ใจว่าได้รับโปรตีน และแคลอรี่ในปริมาณที่เพียงพอจริง ๆ รวมไปถึงอาหารดี ๆ ที่ไม่ผ่านกระบวน การผลิตหลายขั้นตอน ซึ่งอาหารเหล่านี้จะมีวิตามิน และเกลือแร่ที่มากกว่า
อาการแพ้
สำหรับผู้ป่วยด้วยโรคปอดอุดตันเรื้อรังจำนวนมาก อาการต่าง ๆ เช่น หายใจขัด มีเสียงหวีดเมื่อหายใจ และอาการอื่นๆ ของระบบทางเดินหายใจสามารถลดลงได้โดยหลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้แพ้ รวมไปถึงการแพ้สิ่งต่างๆในสภาพแวดล้อมด้วย ด๊อกเตอร์ อัลเบิร์ต เอช โรวี ผู้บุกเบิกในแขนงการแพ้อาหาร ได้ทำการรักษาผู้ป่วยโรคปอดอุดตันเรื้อรังจำนวน 60 คน โดยการจำกัดอาหารที่แพ้ (โดยทำให้ผู้ป่วย 20% ให้มีความไวต่อการแพ้เกสรดอกไม้ลดลงด้วย) อาการของผู้ป่วยดีขึ้นในระดับ “ดี” จนถึง “มองเห็นได้” และดีอยู่อย่างนั้นเป็นเวลานานถึง 4 ปี ผลดีของการควบคุมสิ่งที่แพ้ดูเหมือนจะเกิดจากการที่ทำให้การกระตุกของ หลอดลมลดลง ลดการบวมของเยื่อเมือก และมีการผลิตเมือกน้อยลง
อาหารเสริม
โคเอนไซม์ คิว 10 และ แอล-คาร์นิทีน
เป็นสารคล้ายวิตามิน มีปริมาณอยู่ในอาหาร เพียงเล็กน้อยและที่ร่างกายสังเคราะห์ขึ้นได้ สารทั้งคู่มีหน้าที่ในการผลิตพลังงาน จึงอาจมีประโยชน์ในผู้ป่วยโรคปอดอุดตันเรื้อรัง ในการศึกษาครั้งหนึ่งการให้ แอล-คาร์นิทีน (2 กรัม วันละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 7 วัน) ช่วยเพิ่มการทนทานต่อการออกกำลังกายในผู้ป่วยโรคปอดเรื้อรังได้
ในการศึกษาอีกครั้งหนึ่ง พบว่าระดับโคเอนไซม์ คิว 10 ในผู้ป่วยด้วยโรคปอดอุดตันเรื้อรังมีต่ำกว่าคน ที่มีสุขภาพดี การให้ โคเอนไซม์ คิว 10 (วันละ 90 ม.ก. เป็นเวลา 8 สัปดาห์) แก่คนไข้เหล่านี้ ทำให้ผู้ป่วยสามารถออกกำลังบนลู่วิ่ง ได้นานขึ้นอย่างมีนัยสำคัญแม้ว่าจะมี โคเอนไซม์ คิว 10 และแอล-คาร์นิทีน ในอาหารอยู่เล็กน้อยแล้ว แต่ปริมาณที่ต้องการในการรักษา โรคปอดอุดตันเรื้อรังยังสูงกว่านั้นมาก ดังนั้นจึงจำเป็นต้องรับประทานเป็นอาหารเสริมเพิ่มอีก
แมกนีเซียม
การขาดแมกนีเซียม (โดยดูได้จากความเข้มข้นของแมกนีเซียมในตัวอย่างเนื้อเยื่อจากกล้ามเนื้อ) พบใน ผู้ป่วย 15 คน จากจำนวน 32 คน (คิดเป็น 47%) ที่เข้าโรงพยาบาลเพราะเป็นโรคปอดอุดตันเรื้อรังในขั้นรุนแรง ผู้ป่วยที่มีแมกนีเซียมต่ำจำเป็นต้องอยู่ในโรงพยาบาลนานกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ป่วยที่มีระดับแมกนีเซียมปกติ การศึกษานี้แนะให้เห็นว่า การขาดแมกนีเซียมอาจเพิ่มความรุนแรงของโรคปอดอุดตันเรื้อรังขึ้นได้
แมกนีเซียมทำให้ปอดทำงานอย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างน้อย 2 ทาง
ทางแรก คือ แร่ธาตุนี้ทำหน้าที่เหมือนตัวขยายหลอดลม ป้องกันการกระตุกที่จะเกิดขึ้นในหลอดลม
ทางที่สอง แมกนีเซียมทำหน้าที่สำคัญในการผลิตพลังงาน ซึ่งเป็นที่ต้องการของกล้ามเนื้อ ผนังหน้าอกและกระบังลม ที่ทำหน้าที่ในการหายใจ สำหรับผู้ที่มีการอุดตันของปอดเรื้อรังที่ต้องใช้ความพยายามอย่างหนักในการหายใจแต่ละครั้งนั้น การลอความรุนแรงของการอ ุดตันลงไม่ว่าวิธีใดก็ตาม หรือการทำให้กล้ามเนื้อที่เกี่ยวกับการหายใจแข็งแรงขึ้นล้วนมีผลดีต่อเขาทั้งสิ้น ในการศึกษาแบบ double-blind ครั้งหนึ่ง ผู้ที่มีระดับแมกนีเซียมต่ำมีพลังในการหายใจดีขึ้นหลังจากได้รับการฉีดแมกนีเซียมเข้าหลอดเลือด ซึ่งผู้ที่แข็งแรงและมีระดับแมกนีเซียม ปกติจะไม่เห็นผลที่ว่านี้
เอ็น-อะเซ็ททิลซิสเตอีน หรือ แน็ค (Nacetylcysteine or NAC)
แน็ค (NAC) เป็นอนุพันธ์ของอะมิโนแอซิด ซิสเตอีน และทำหน้าที่ที่แตกต่างกันสองอย่าง ซึ่งอาจมีผลดีต่อปอด
อย่างแรก แน็คทำหน้าที่เป็นตัวทำลายเมือก ซึ่งเป็นสารประกอบที่ทำลายเมือกในทางเดินหายใจ ทำให้หลอดลมโล่งและอากาศผ่านเข้าออกได้สะดวก
อย่างที่สอง แน็คมีส่วนในการสังเคราะห์กลูตาไธโอน ซึ่งเป็นสารแอนติออกซิแดนท์ที่ทรงพลังที่ช่วยป้องกันปอดจากสารพิษต่าง ๆ และอนุมูลอิสระ
ในการศึกษาครั้งหนึ่ง ผู้ป่วยด้วยโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังจำนวน 1,392 คน ต่างได้รับแน็คขนาด 200 มก. วันละ 3 ครั้ง เป็นเวลานาน 2 เดือน พบว่า 87% แสดงให้เห็นว่าอาการดีขึ้น โดยมีการไออย่างรุนแรงน้อยลง ขากเสลด หรือบ้วนน้ำลาย ได้ง่ายขึ้น และมีอาการหายใจขัดน้อยลง มีผลค้างเคียงรายงานจากผู้ป่วย 19% ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน เจ็บในท้อง ง่วงนอน ปวดศีรษะ และปากแห้ง ผู้ป่วยส่วนมากที่เกิดอาการข้างเคียงต่างกล่าวว่าอาการเหล่านี้ไม่ได้รุนแรงจนถึงกับต้องเลิกการรักษาไป ในการศึกษาแบบ double-blind โดยการใช้แน็คในปริมาณเดียวกันนี้พบว่า ผู้ป่วยที่ได้รับแน็คจำนวน 19% มีอาการของหลอดลมอักเสบน้อยลง และ 25% มีจำนวนวันที่ต้องรับประทานยาปฎิชีวนะน้อยลง เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก อย่างไรก็ตามผลจากการศึกษาเหล่านี้ก็ยังไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่การศึกษาหลายครั้งแนะนำว่า แน็คอาจมีประโยชน์ในการรักษาหลอดลมอักเสบเรื้อรัง แต่ก็ยังคงต้องการการวิจัยมากกว่านี้ก่อนที่จะถือ ว่าการรักษาแบบนี้ “ได้รับการพิสูจน์แล้ว”
เนื่องจากแน็คจะจับตัวกับสังกะสีและทองแดง การใช้แน็คในระยะเวลานานจึงอาจทำให้ขาดเกลือแร่เหล่านี้ได้ ผู้ที่รับประทานแน็คจึงควารรับประทานเกลือแร่รวม หรือสังกะสีและทองแดง ในโปรแกรมอาหารเสริมด้วย
ทองแดง
ทำหน้าที่สำคัญในการทำให้เนื้อเยื่อปอดแข็งแกร่ง หนูตะเภาที่ได้รับอาหารที่ขาดทอง แดงจะป่วยเป็นโรคถุงลมโป่งพอง (emphysema) นอกจากนี้การทำงานของปอดในมนุษย์มีมากขึ้นเมื่อเพิ่มความเข้มข้นของ ทองแดงเข้าไปในน้ำดื่ม อาหารทั่วไปของชาวอเมริกันมีทองแดงเพียงวันละ 1 มก. ในขณะที่ทางการแนะนำ วันละ 2 มก. ดังนั้น จึงดูเหมือนว่าผู้ป่วยโรคปอดอุดตันเรื้อรังจึงควร รับประทานวิตามินรวมเกลือแร่ที่มีทองแดงอย่างน้อย 1 มก. อาหารที่มีธาตุทองแดง ได้แก่ ถั่วต่าง ๆ ถั่วมีฝัก ผักต่างๆ ไข่ และเนื้อ
สารอาหารอื่นๆ ที่อาจช่วยเพิ่มความแข็งแรง และเนื้อเยื่อในการหายใจ หรือเพิ่มภูมิด้านทานการติดเชื้อ ได้แก่ วิตามิน ซี ว ิตามิน เอ สังกะสี วิตามิน อี และเลซิติน
แพทย์บางคนใช้ไอโอดีนในระดับเข้มข้นที่ต้องการใบสั่งจากแพทย์ (ในรูปของสารละลายอิ่มตัวปอแตสเซียมไอโอไดด์ หรือ SSKI) เพื่อช่วยเพิ่มการไหลของเยื่อเมือกต่าง ๆ ในหลอดลม แม้ว่าการรักษาแบบนี้จะได้ผลดี แต่การให้ SSKI ในปริมาณสูงก็มีผลต่อการทำงานของต่อมไทรอยด์ หรือทำให้เกิดอาการข้างเคียงอื่น ๆ ดังนั้นจึงต้องควบคุมอย่างใกล้ชิด
กลูตาไธโอน
ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น กลูตาไธโอน มีหน้าที่สำคัญในระบบแอนติออกซิแดนท์ที่ป้องกันตามธรรมชาติ ซึ่งช่วยป้องกันความเสียหายของเนื้อเยื่อปอดจากการออกซิเดชั่น การศึกษาหลายครั้งแสดงให้เห็นว่า เมื่อใช้กลูตาไธโอนฉีดเป็นสเปรย์เข้า สู่ปอดคนไข้โดยตรง มันจะทำงานในฐานะสารต้านอนุมูลอิสระได้อย่างเต็มที่
ผู้ร่วมงานคนหนึ่งของผู้เขียนคือ ดร.เดวิด แลมสัน ได้เคยให้กลูตาไธโอนด้วยวิธีสเปรย์แก่ผู้ป่วยโรคปอด อุดตันเรื้อรังบางคนทำให้เขามีอาการดีขึ้นเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตามวิธีนี้ยังต้องการการวิจัยมากขึ้นเพื่อยืนยันถึงผลการใช้ในระยะยาว รวมไปถึงความปลอดภัยในการรักษาด้วยวิธีนี้ด้วย โดยสามารถหากลูตาไธโอนชนิดสเปรย์ได้จากใบสั่งแพทย์ที่ให้เภสัชกรเป็นผู้เตรียม แลมสันใช้ในปริมาณ 2 มิลลิลิตร วันละ 2 ครั้ง จากส่วนผสมกลูตาไธโอนเข้มข้น 60 มก. ต่อ มิลลิลิตร เมื่อมีอาการดีขึ้นก็ลดความถี่ในการใช้ลง และใช้ต่อไปได้เมื่อจำเป็น
สรุป
แม้ว่าโดยทั่วไปโรคปอดอุดตันเรื้อรังจะถือว่าไม่สามารถรักษาให้กลับคืนดีได้ดังเดิม แต่ก็มีหลักฐานว่าการ ปรับปรุงโภชนาการและการให้อาหารเสริมสามารถลดอาการที่เกิดลงได้และช่วยทำให้หายใจได้สะดวกยิ่งขึ้น ในขณะที่ยังไม่มีการศึกษา ในระยะยาวเกิดขึ้นในช่วงนี้ ก็เป็นไปได้ที่ว่าการรักษาด้วยโภชนาการ อาจช่วยชะลอ หรือหยุดการลุกลามของโรคลงได้