หน้าหลัก > สาระรอบรู้ > "น้ำมันปลาแซลมอน แหล่งที่ดีที่สุดของ กรดไขมันโอเมก้า 3"
"น้ำมันปลาแซลมอน แหล่งที่ดีที่สุดของ กรดไขมันโอเมก้า 3"
"น้ำมันปลาแซลมอน แหล่งที่ดีที่สุดของ กรดไขมันโอเมก้า 3"
09 Feb, 2024 / By bode
Images/Blog/PVGkCW2G-Salmon copy.jpg

น้ำมันปลาแซลมอน แหล่งที่ดีที่สุดของ กรดไขมันโอเมก้า 3 

โอเมก้า 3 มีความสำคัญอย่างไร?

ทั้ง EPA และ DHA นี้ถูกค้นพบครั้งแรกในปี 1950 จึงไม่แปลกที่จะมีงานวิจัยเป็นจำนวนมากที่ทำการศึกษาและค้นพบประโยชน์ที่มีอยู่ในกรดไขมันโอเมก้า 3 นับเป็นกรดไขมันจำเป็นที่ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเองต้องได้รับจากอาหาร โดยโอเมก้า 3 จะเข้าสู่เยื่อหุ้มเซลล์ของร่างกายและสร้างชั้นป้องกันที่หนาขึ้นรอบเซลล์ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกายในการยอมให้เซลล์และสารประกอบอื่นถูกปล่อยผ่านเข้าสู่ระบบต่างๆ ของร่างกายได้ ประโยชน์อีกด้านของโอเมก้า 3 เมื่อถูกดูดซึมแล้วสามารถให้พลังงานและสร้างโมเลกุลที่เรียกว่า ไอโคซานอยด์ (Eicosanoids) โมเลกุลเหล่านี้จะทำหน้าที่หลาย อย่าง ทั้งในระบบหัวใจ หลอดเลือด ภูมิคุ้มกัน และต่อมไร้ท่อ จากงานวิจัยที่เผยแพร่ในวารสารการแพทย์ Cancer and Metastasis Reviews ระบุว่า กรดไขมัน EPA และ DHA เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะถูกเปลี่ยนเป็น สารต้านอักเสบ (Resolvins) ที่มีคุณสมบัติในการออกฤทธิ์ต้านการอักเสบที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของร่างกายได้ ดังนั้น กรดไขมันโอเมก้า 3 จึงมีส่วนสำคัญในการลดการอักเสบ ลดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะการหายใจล้มเหลว และลดการสร้างสาร ไซโตไคน์ (Cytokine) ที่ก่อให้เกิดการอักเสบของปอดจากการติดเชื้อไวรัส ซึ่งเท่ากับเป็นการลดความเสี่ยงจากการเสียชีวิตจากการติดเชื้อรุนแรงลงได้

โอเมก้า-3 กรดไขมันที่เป็นมิตรต่อสุขภาพ

โดยสรุป โอเมก้า-3 จากปลาและอาหารทะเลมีประโยชน์มากกว่าโอเมก้า-3 ที่ได้จากพืช คือ ร่างกายสามารถนำกรดไขมัน EPA และ DHA ไปใช้ได้ทันที ในขณะที่ ALA ต้องเปลี่ยนให้เป็น EPA และ DHA ก่อนจึงจะนำไปใช้ได้ และได้ปริมาณเพียงเล็กน้อย

  • ผู้ที่ใช้ยาซึ่งส่งผลต่อการแข็งตัวของเลือด: เช่น ยาต้านเกล็ดเลือด หรือยาต้านอักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เช่น ยาแก้ปวดข้อหรือยาแก้อักเสบควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานน้ำมันปลาที่มีโอเมก้า 3 เนื่องจากคุณสมบัติในการต้านเกล็ดเลือดอาจทำให้เลือดใช้เวลาในการแข็งตัวนานขึ้น

  • ผู้ที่ตั้งครรภ์ หรือกำลังจะตั้งครรภ์ ให้นมบุตร: ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการบริโภคน้ำมันปลาที่มีโอเมก้า 3
  • ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน: การรับประทานน้ำมันปลาในปริมาณมากเกินไปอาจทำให้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ยากขึ้น
  • ผู้ที่แพ้ปลาหรืออาหารทะเล: การแพ้น้ำมันปลานั้นเกิดขึ้นได้ยากมาก และแท้จริงแล้วเป็นปฏิกิริยาแพ้โปรตีนจากปลาหรือสัตว์น้ำที่มีเปลือกแข็ง อาการของการแพ้น้ำมันปลาจะเหมือนกับการแพ้ปลาหรืออาหารทะเล แนะนำให้ผู้ป่วยแพ้อาหารทะเลหลีกเลี่ยงหรือปรึกษาแพทย์ก่อนการบริโภคโอเมก้า 3
  • ผู้ที่ต้องเข้ารับการผ่าตัด: น้ำมันปลาที่มีโอเมก้า 3 มีคุณสมบัติในการต้านการแข็งตัวของเกล็ดเลือด และทำให้เลือดหยุดไหลช้า หากจะเข้ารับการผ่าตัดควรแจ้งแพทย์ก่อนว่ากำลังทานน้ำมันปลาอยู่ ด้วยเหตุนี้จึงแนะนำให้หยุดรับประทานน้ำมันปลาก่อนเข้ารับการผ่าตัดอย่างน้อย 14 วัน

 

 

 

 

Like
ความคิดเห็น (0)
ก่อนหน้า 1 ถัดไป